ความเป็นมาของหน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น
สืบ เนื่องจากคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม และ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๒๗ เห็นชอบในหลักการแผนพัฒนาการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ศิลปกรรม โดยเจตนารมณ์ของแผนคือ การพัฒนาวิธีการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ศิลปกรรมให้เป็นระบบ ดังนี้
๑. ให้มีการศึกษาอบรมและประชาสัมพันธ์แก่ประชาชนให้มีความรู้ความเข้าใจ เพื่อเป็นการป้องกันที่ต้นเหตุ
๒. ให้มีหน่วยงานดูแลและตรวจสอบเพื่อป้องกันมิให้เกิดปัญหาลุกลามเกินกว่าจะแก้ไขได้
๓. ให้มีมาตรการควบคุมการใช้พื้นที่ให้เป็นไปตามกฎหมาย เพื่อให้การพัฒนาเป็น ตามหลักการที่ถูกต้องเหมาะสม และประสานประโยชน์แก่ท้องถิ่นและประเทศชาติ โดยส่วนรวม
โดยมีการดำเนินงานเร่งด่วนคือ การจัดตั้งหน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรมท้องถิ่น ๗๕ จังหวัด (ยก เว้น กรุงเทพมหานคร) โดยตั้งอยู่ในโรงเรียน ๔๒ แห่ง มหาวิทยาลัยราชภัฏ ๓๐ แห่ง และสถาบันการพลศึกษา ๓ แห่ง นับเป็นจุดเริ่มต้นของการมีเครือข่ายด้านการอนุรักษ์ของสำนักงานนโยบายและ แผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เนื่องจากในท้องถิ่นนอกจากจะมีมรดกทางวัฒนธรรมแล้วยังมีแหล่งธรรมชาติอันควร อนุรักษ์ ซึ่งมีแนวทางในการอนุรักษ์และดำเนินการในลักษณะเดียวกันนั่น คือ การคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมศิลปกรรม ประกอบกับใน การปรับปรุงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๖ พ.ศ.๒๕๓๒-๒๕๓๔ ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้เสนอให้มีการปรับ ปรุงองค์กรระดับ จังหวัดทางด้านสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมที่มีอยู่แล้วในทุกจังหวัดให้ครอบคลุม เรื่องสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ รวมทั้งในปี พ.ศ.๒๕๔๕ รัฐบาลได้มีการพัฒนา ระบบราชการที่มุ่งเน้นให้มีการบริหารจัดการอย่างบูรณาการ ซึ่งการบริหาร จัดการในเรื่องสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมเป็น เรื่องที่มีความสัมพันธ์และมีผลกระทบซึ่งกันและกัน
สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) จึง เสนอให้คณะอนุกรรมการการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม ซึ่งเป็น คณะอนุกรรมการภายใต้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พิจารณาให้ความเห็นชอบ ต่อการเพิ่มบทบาทของหน่วยอนุรักษ์ฯ เป็นหน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ และศิลปกรรมท้องถิ่น (Local Units for Conservation of Natural and Cultural Environment: LUCNCE) โดยมีบทบาทหน้าที่ในการดำเนินงานด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ ควบคู่กันไป กับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม เมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๔ ๓๐ มกราคม และ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ ตามลำดับ
หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ และศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
หน่วย อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นอีกหน่วยงานหนึ่งที่อยู่ในความรับผิดชอบของสถาบันอยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ซึ่งดำเนินงานโดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมีคณะกรรมการ ๒ ชุด คือ
– ชุดที่ ๑ ระดับนโยบาย มีผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ดำรงตำแหน่งประธานอนุกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้อง ถิ่นจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
– ชุดที่ ๒ ระดับปฏิบัติงาน มีอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ดำรงตำแหน่งประธานหน่วยอนุรักษ์ฯ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และมีเลขานุการ คือ ผู้อำนวยการสถาบันอยุธยาศึกษา หัวหน้าหน่วยอนุรักษ์ฯ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
บทบาท
หน่วย อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่นมีบทบาทสำคัญในการสนับ สนุน การดำเนินงานประสานงานการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ศิลปกรรมท้องถิ่น ร่วมกับหน่วยงาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และประชาชนในท้องถิ่น รวมทั้งองค์กรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
หน้าที่หลัก
๑. ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น
๒. ศึกษา รวบรวม บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมของแหล่งธรรมชาติและศิลปกรรม
๓. ตรวจสอบ ดูแล สิ่งแวดล้อมโดยรอบแหล่งธรรมชาติและศิลปกรรมในพื้นที่รับผิดชอบ รวมทั้งรายงานสถานการณ์ที่คาดว่าจะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและ ศิลปกรรม ไปยังสำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
๔. สนับสนุนให้มีการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมในแต่ละท้องถิ่นให้ ถูกต้องตามกระบวนการ โดยให้ท้องถิ่นและประชาชนมีบทบาทสำคัญด้วยการเสริมสร้างบุคลากรในท้องถิ่น ให้มีคุณภาพ
๕. สนับสนุนข้อมูลทางวิชาการ รวมทั้งให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการพิจารณาโครงการพัฒนาต่างๆที่จะเข้า มาในพื้นที่ที่เป็นแหล่งธรรมชาติและศิลปกรรม เพื่อให้การพัฒนาด้านเศรษฐกิจและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม เป็นไปอย่างสอดคล้อง
๖. ปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม
๗. ปฏิบัติงานในฐานะเลขานุการของคณะอนุกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมประจำจังหวัด
ทิศทางการดำเนินงานของหน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชิตและศิลปกรรมท้องถิ่น ทั้ง ๗๕ หน่วย มีทิศทาง การดำเนินงานในรูปแบบเดียวกัน ประกอบด้วย การอนุรักษ์ ส่งเสริม พัฒนา ประสานงาน ติดตาม และตรวจสอบ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
การอนุรักษ์
๑. ดูแลตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมของแหล่งธรรมชาติและศิลปกรรม เพื่อป้องกันมิให้ถูกบุกรุกทำลาย เสียหาย เสื่อมโทรม ด้วยวิธีการที่เหมาะสมโดยประสานงานกับหน่วยงานที่รับผิดชอบและประชาชนใน พื้นที่
๒. เก็บรวบรวมและจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งธรรมชาติและศิลปกรรมตลอดจนสภาพแวดล้อมที่อยู่ภายนอก
๓. ประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้องให้เข้ามามีส่วนร่วมและช่วยสอดส่องดูแล
การส่งเสริม
๑. สนับสนุนให้มีอนุรักษ์อย่างถูกวิธี เป็นระบบ และเหมาะสม
๒. สนับสนุนให้มีกลุ่มอนุรักษ์หรือขยายเครือข่ายในท้องถิ่น / ชุมชน
การพัฒนา
๑. ผลักดันให้การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมเป็นส่วนหนึ่งของการ พัฒนาท้องถิ่น โดยสนับสนุนให้การมีส่วนร่วมและประสานประโยชน์
๒. ประสานเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมร่วมกับองค์กรท้อง ถิ่น เพื่อให้แผนพัฒนาจังหวัดหรือท้องถิ่น และแผนด้านการอนุรักษ์สอดคล้องกัน
๓. พิจารณากลั่นกรองโครงการหรือกิจกรรมที่อาจส่งผลกระทบต่อแหล่งธรรมชาติและ ศิลปกรรม ในกรณีที่เป็นโครงการเร่งด่วน หรือมิได้มีแผนด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม ให้นำเสนอคณะ อนุกรรมการอนุรักษ์ฯ ประจำจังหวัดพิจารณา และแจ้งผลให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทราบหรือ ให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ
การประสานงานและติดตาม
๑. หน่วยอนุรักษ์ฯ และสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด (ทสจ.) ควรจัดให้มีการประชุมคณะอนุกรรมการฯ อย่างน้อยปีละ ๑-๒ ครั้ง
๒. จัดทำรายงานผลการดำเนินงานประจำปี ส่งให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อประโยชน์ในการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยอนุรักษ์ฯ
๓. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัด เพื่อเป็นการขับเคลื่อนงานอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม
นอก จากนี้หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ยังได้พัฒนาระบบข้อมูลและการสื่อสารทางสังคมออนไลน์ (Social Media) โดยได้จัดทำ Facebook ของหน่วยอนุรักษ์ฯ โดยใช้ชื่อว่าหน่วยอนุรักษ์ฯ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หรือ www.facebook.com/ayutthayastudies เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือในกลุ่มของหน่วยอนุรักษ์ฯ ในจังหวัดต่างๆ และเป็นช่องทางในการสื่อสารให้ประชาชนทั่วไปได้รับทราบถึงการดำเนินงาน ข้อมูลท้องถิ่น กิจกรรมของหน่วยอนุรักษ์ฯ อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยอนุรักษ์ฯ และประชาชนเพื่อ ให้เกิดการมีส่วนร่วมในการช่วยกันสอดส่องและดูแลสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและ ศิลปกรรมในท้องถิ่นของตนเอง ถือเป็นการสร้างความตระหนักรู้และการปลูกฝังจิตสำนึกให้กับเยาวชนและประชาชน ผ่านสื่อต่างๆ โดยเฉพาะสื่อออนไลน์ ซึ่งเป็นสื่อที่ทันสมัย และเข้าถึงได้ง่ายในวงกว้าง
Facebook ของหน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา www.facebook.com/ayutthayastudies
ที่ตั้ง/อาณาเขต
หน่วยอนุรักษ์ฯ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สังกัดสถาบันอยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
เลขที่ ๙๖ หมู่ ๒ ถนนปรีดีพนมยงค์ ตำบลประตูชัย อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ๑๓๐๐๐